16 พฤศจิกายน 2554




ทศนิยมและเศษส่วน
เรียนคณิตศาสตร์ ด้วย VDO


ทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ออนไลน์


เรียนคอมพิวเตอร์เบื้องตัน


และนานาสาระความรู้เพื่อคนไทย

27 กรกฎาคม 2554

ทฤษฎีความรู้ TOK ย่อมาจาก Theory of Knowledge

TOK ย่อมาจาก Theory of Knowledge หมายถึง ทฤษฎีความรู้ คือทฤษฎีที่ทำให้การศึกษาหาความรู้และทำการค้นคว้าต่างๆ เป็นไปอย่างราบลื่นและรวดเร็วขึ้น โดยใช้หลักการค้นคว้าและนำมาวิเคราะห์เป็นหลัก กล่าวคือในการศึกษาหาความรู้ ผู้ศึกษาต้องทำการรวบรวมความรู้ทั้งข้อมูล ความรู้สึก และความคิดเห็นในเรื่องนั้น นำมาวิเคราะห์ด้วยตนเองจนได้สิ่งที่ต้องการศึกษานั้นออกมา สิ่งเหล่านี้คือทฤษฎีความรู้

ในวิชาทฤษฎีความรู้ จะไม่ทำการเรียนด้วยวิธีการเดียวกับวิชาอื่นๆ โดยจะเน้นกระบวนการค้นคว้า ค้นพบ และแลกเปลี่ยนมุมมองของผู้เรียนแต่ละคนในเรื่องที่ต้องการศึกษา จึงทำให้ไม่มีความแน่นอนในการทำงานของแต่ละคน นอกจากนี้ครูผู้สอนยังมีอิสระในการคิดเรื่องและวิธีการที่จะนำมาสอนหรือให้งานนักเรียนในคาบเรียน โดยหลักแล้วจะเน้นให้เกิดการถกประเด็นและอภิปรายกัน ทำให้เกิดการวิเคราะห์ว่าอะไรถูกหรือผิด ทำให้มีการวิเคราะห์และได้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในเรื่องที่จะศึกษา

(Theory of Knowledge:TOK) เป็นอีกหนึ่งวิชาที่ โรงเรียนในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล จะต้องเปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในโครงสร้างหลักสูตร ดร.เฉลิม ฟักอ่อน ได้กรุณาให้รายละเอียด เกี่ยวกับวิชาทฤษฎีความรู้ และวิธีการวัดประเมินผล ดังนี้

“ Theory of knowledge(TOK) เป็นสาระ/วิชาเกี่ยวกับ วิชาการเกิดความรู้(Way of knowing)ของแต่ละบุคคล เช่น การมีความรู้หรือความรู้เกิดขึ้นจากความรู้สึก(Sense perception) จากการหาเหตุผล(Reason) จากอารมณ์/ภาษา/น้ำเสียง(Tone)/สัญลักษณ์(Symbol)/ชื่อเรียกต่าง ๆ(Nomencrature) -วิชาความรู้ด้านต่าง ๆ(Area of knowledge) เช่น คณิตศาสตร์(Mathematics) วิทยาศาสตร์(Natural science) ประวัติศาสตร์(History) ศิลปะและจริยธรรม/ศีลธรรม(Arts and Ethics) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาความแตกต่างของธรรมชาติ และวิธีการหาความรู้ของแต่ละบุคคล การอธิบายความรู้ของแต่ละคน และการศึกษาปัญหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการหาความรู้ เช่น อาจจะตั้งคำถามว่า จะเชื่อได้อย่างไรว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific method) เป็นวิธีการหาความรู้หรือเป็นวิธีการได้รับความรู้ที่ถูกต้องหรือเชื่อถือได้? เพราะเหตุใดเราจึงต้องมีความรู้ทางประวัติศาสตร์? เราจะใช้ชีวิตอย่างไร? – วิชาธรรมชาติของความรอบรู้(Nature of knowing) โดยเรียนรู้ว่าสาระสนเทศ ข้อมูล ความเชื่อ ความศรัทธา ความคิดเห็น ความรู้ และภูมิปัญญา ว่าแตกต่างกันอย่างไร –วิชาชุมชนแห่งการเรียนรู้(Knowledge communites) ชุมชนแต่ละชุมชนมีอะไรบ้างที่เป็นองค์ความรู้ หรือเราควรจะตรวจสอบความเชื่อเรื่องอะไรบ้างในชุมชน –วิชาแหล่งความรู้ และการใช้ความรู้ของผู้รู้(Knowers’ source and applications of knowledge) เช่น อาจจะศึกษาว่า อายุ การศึกษา วัฒนธรรม และประสบการณ์ มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งเรียนรู้และข้อมูลสารสนเทศของความรู้ที่สนใจอย่างไร? การที่เรารู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือรู้การทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราจำเป็นต้องมีองค์ความรู้หรือไม่? การพิสูจน์/ยืนยันความรู้ของเรา(Justifications of knowledge claims) เพราะเหตุใดจึงต้องมีการตรวจสอบ/ประเมินองค์ความรู้ที่ตนมีอย่างมีหลักเกณฑ์? เป็นไปได้หรือไม่ว่า ตรรกะ(Logic) การรับรู้ด้วยความรู้สึก(Sensory perception) การเปิดเผย/คำพูด/คำสอน(Revelation) ความเชื่อ/ความศรัทธา(Faith) ความจดจำ(Memory) เสียงส่วนใหญ่(Consensus) ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ(Authority) การหยั่งรู้(Intuition) และการตระหนัก(Self-awareness) เป็นหลักเกณฑ์การพิสูจน์/ตรวจสอบความรู้ต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้? การใช้การเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ(Coherence) ความสอดคล้องกัน(Correspondence) การทำงานในสภาพจริง/การปฏิบัติ(Pragmatism) และการยอมรับเป็นส่วนใหญ่มา เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบความจริงความถูกต้องของความรู้

TOK เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ความรู้ที่ตนได้รับ และตอบสนองความรู้/ปัญหาที่สำคัญ(Respond to knowledge issues)ในบริบทต่าง ๆ ที่ต้องใช้หลากหลายสาขาของความรู้(Different areas of knowledge) หลากหลายวิธีการรอบรู้(Ways of knowing) และหลากหลายวิธีในการนำเสนอแนวคิด(Expressing ideas) อย่างถูกต้อง(Accurately) และด้วยความซื่อสัตย์(Honestly) ตลอดจนยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียนโดยจากการทำงาน TOK ที่ตนสนใจ